สวัสดิการต่างๆ
สวัสดิการต่างๆ ที่สมาชิกจะได้รับจากสหกรณ์
ทุนสวัสดิการบำเหน็จสมาชิกที่เกษียณอายุ
สหกรณ์จะจ่ายให้เมื่อสมาชิกมีอายุการเป็นสมาชิกถึงวันที่เกษียณอายุตั้งแต่ 10 ปีเต็มในวันที่อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
และต้องส่งเงินค่าหุ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 120 งวด และต้องมีทุนเรือนหุ้นไม่น้อยกว่า 200,000 บาท และยังคงสถานภาพ
การเป็นสมาชิกสหกรณ์อยู่ โดยจะจ่ายเงินกองทุนนี้จำนวน 20,000 บาท และส่วนที่เกิน 10 ปี จะจ่ายให้ปีละ 1,000 บาท
การนับอายุเป็นสมาชิกให้นับเป็นปีเศษของปีให้นับเป็น 1 ปี ตัวอย่าง สมาชิกมีอายุการเป็นสมาชิก 15 ปี สหกรณ์จะจ่ายเงินกองทุนจำนวน 25,000 บาท
สวัสดิการเงินช่วยเหลือสมาชิกผู้เกษียณอายุ "วันเกิด"
สมาชิกที่มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ ดังนี้
- เป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปีบริบูรณ์ และต้องส่งเงินค่าหุ้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 120 งวด และมีทุนเรือนหุ้นไม่น้อยกว่า 200,000 บาทยังคงสถานภาพการเป้นสมาชิกอยู่
- ต้องมีอายุตั้งแต่ 61 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- ต้องเป็นสมาชิกที่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จสมาชิกผู้เกษียณอายุ
เงินช่วยเหลือ
อายุ | สหกรณ์จ่าย |
1. อายุ 61 - 65 ปี |
จ่าย 3,000 บาท |
2. อายุ 66 - 70 ปี |
จ่าย 4,000 บาท |
3. อายุ 71 ปีขึ้นไป |
จ่าย 6,000 บาท |
การจ่ายเงินช่วยเหลือปีละ 1 ครั้ง โดยจะจ่ายให้ในวันสิ้นเดือนของเดือนเกิดของทุกปี โดยสมาชิกยื่นเรื่องแสดง ความจำนงเป็นหนังสือรายงานตัวสมาชิกผู้เกษียณอายุ ว่าด้วย "ทุนสวัสดิการสมาชิกเกษียณอายุ พ.ศ.2555" ถือเป็นการแสดงตนครั้งแรก ที่อายุครบ 61 ปี พร้อมแนบเอกสารสำเนาบัตรประจำตัว สำเนาบัตรประชาชน และหน้าบัญชีธนาคารหรือบัญชีเงินฝากสหกรณ์ฯ ปีต่อๆ ไปทางสหกรณ์ฯ จะโอนเงินเข้าบัญชีให้ท่านอัตโนมัติ
กองทุนสวัสดิการทุนเรือนหุ้น (กรณีเสียชีวิต)
สหกรณ์จะจ่ายให้ตามอายุการเป็นสมาชิกโดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
อายุการเป็นสมาชิก | เงินช่วยเหลือที่จะได้รับ |
ตั้งแต่ 1 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี |
ร้อยละ 50 ของทุนเรือนหุ้นแต่ไม่เกิน 65,000 บาท |
ตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี |
ร้อยละ 80 ของทุนเรือนหุ้นแต่ไม่เกิน 75,000 บาท |
ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป |
ร้อยละ 80 ของทุนเรือนหุ้นแต่ไม่เกิน 85,000 บาท |
หมายเหตุ
กรณีสมาชิกที่ทุพพลภาพ และได้รับเงินกองทุนนี้แล้ว ต่อมาสมาชิกนั้นถึงแก่กรรม ก็ยังคงได้รับสวัสดิการตามระเบียบนี้ยื่นภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ถึงแก่กรรม
กองทุนสวัสดิการสมาชิกที่เสียชีวิต (ช่วยทำศพ)
เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ครอบครัวของสมาชิกที่เสียชีวิตได้รับเงินช่วยเหลือสูงสุดเป็นเงิน 20,000 บาท โดยให้คณะกรรมการพิจารณาจ่ายเงินสวัสดิการให้แก่ทายาทของสมาชิกผู้รับผลประโยชน์ตามลำดับ ซึ่งสมาชิกได้แจ้งไว้เป็นลายลักษณ์อักษรตามที่สหกรณ์กำหนด ผู้มีสิทธิได้รับสวัสดิการตามระเบียบนี้ ต้องมายื่นคำร้องขอรับเงินสวัสดิการสมาชิกที่เสียชีวิต ภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันที่สมาชิกเสียชีวิต
โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
อายุการเป็นสมาชิก | สหกรณ์จ่ายให้ |
1. อายุการเป็นสมาชิก 1 เดือน ถึง 5 ปี |
จ่าย 10,000 บาท |
2. อายุการเป็นสมาชิกมากกว่า 5 ปี ถึง 10 ปี |
จ่าย 15,000 บาท |
3. อายุการเป็นสมาชิกมากกว่า 10 ปี |
จ่าย 20,000 บาท |
กองทุนสวัสดิการหนี้
เมื่อสมาชิกเสียชีวิตและมีหนี้สินในฐานะผู้กู้ค้างอยู่ สหกรณ์จะจ่ายเงินกองทุนสวัสดิการหนี้ให้กับสมาชิกที่มีหนี้สินกับสหกรณ์ ด้วยยอดหนี้คงค้างทั้งหมด แต่ไม่เกิน 70,000 บาท
หมายเหตุ
กรณีมีหนี้สินมากกว่าทุนเรือนหุ้น จึงจะได้รับสวัสดิการดังกล่าว
กองทุนช่วยเหลือสมาชิกที่ได้รับอุบัติเหตุ
เพื่อเป็นการช่วยเหลือสมาชิก เมื่อต้องประสบอันตรายถึงขั้นอันตรายสาหัส ให้ได้รับเงินสวัสดิการ หรือเงินช่วยเหลือกรณีทุพพลภาพ หรือค่าปลงศพแก่สมาชิกหรือครอบครัว
- กรณีได้รับอุบัติเหตุถึงขั้นเสียชีวิต จะได้รับการช่วยเหลือ 60,000 บาท โดยเแจ้งเอกสารจากการเสียชีวิตเพิ่มเติม คือรายละเอียดบันทึกประจำวันที่เกิดอุบัติเหตุ พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้องจากสถานีตำรวจ
- กรณีสมาชิกประสบอุบัติเหตุจนถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะหรือประสบอุบัติเหตุถึงขั้นเจ็บป่วยและเข้าตามข้อบังคับจะได้รับเงินช่วยเหลือวงเงินไม่เกิน 60,000 บาท ตลอดอายุสมาชิกผู้นั้น
โดยสหกรณ์จะพิจารณาจ่ายเงินให้แก่สมาชิกตามความร้ายแรงแห่งทุพพลภาพขั้นอันตรายสาหัสตามแนวทางเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
ความสาหัส | เงินช่วยเหลือที่จะได้รับ |
แขนขาดข้างหนึ่ง |
35,000 บาท |
ขาขาดข้างหนึ่ง |
35,000 บาท |
มือขาดข้างหนึ่ง |
35,000 บาท |
เท้าขาดข้างหนึ่ง |
35,000 บาท |
เท้าทั้งสองข้างขาด |
60,000 บาท |
หูหนวกหนึ่งข้าง |
18,000 บาท |
หูหนวกสองข้าง |
36,000 บาท |
นิ้วหัวแม่มือขาดหนึ่งนิ้ว |
15,600 บาท |
นิ้วชี้ขาดหนึ่งนิ้ว |
14,400 บาท |
นิ้วหัวแม่มือขาดหนึ่งข้อ |
14,400 บาท |
นิ้วนางหรือนิ้วกลางขาดหนึ่งนิ้ว |
6,000 บาท |
นิ้วก้อยขาดหนึ่งนิ้ว |
4,800 บาท |
นิ้วหัวแม่เท้าขาดหนึ่งนิ้ว |
3,600 บาท |
นิ้วเท้าอื่นขาดหนึ่งนิ้ว |
1,800 บาท |
สูญเสียลูกตาหนึ่งข้าง |
30,000 บาท |
สูญเสียลูกตาสองข้าง |
60,000 บาท |
แผลฉีกขาดที่ได้รับการเย็บติดตั้งแต่ 10 เข็มขึ้นไป (ถ้ามากกว่า 10 เข็ม จ่ายเข็มละ 100 บาท) |
1,000 บาท |
กระดูกแตกร้าว |
5,000 บาท |
กระดูกแตกร้าวจนต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด |
10,000 บาท |
นิ้วหัก จ่ายนิ้วละ |
1,000 บาท |
แขนหักหนึ่งข้าง |
5,000 บาท |
แขนหักสองข้าง |
10,000 บาท |
ขาหักหนึ่งข้าง |
5,000 บาท |
ขาหักสองข้าง |
10,000 บาท |
สูญเสียสมรรถภาพในการมองเห็นร้อยละ 90 ขึ้นไป หรือเสียความสามารถในการมองเห็นตั้ง 3/60 หรือมากกว่าของตาหนึ่งข้าง หรือสูญเสียความสามารถในการใช้สายตาสองข้างร่วมกัน |
24,000 บาท |
สูญเสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือสูญเสียความสามารถในการสืบพันธุ์โดยสิ้นเชิง |
24,000 บาท |
สูญเสียประสาทในการรับรู้กลิ่น |
24,000 บาท |
อุบัติเหตุจนถึงขั้นแท้งลูก |
12,000 บาท |
ลิ้นขาด |
24,000 บาท |
จิตพิการติดตัว |
24,000 บาท |
กรณีประสบอันตรายถึงขั้นเจ็บป่วยด้วยอาการทุกขเวทนาที่แพทย์ต้อง ให้การรักษาพยาบาลโดยวิธีการผ่าตัดใหญ่ เช่น ผ่าตัดเปิดช่องท้อง ผ่าตัดเปิดช่องทรวงอก ผ่าตัดไขสันหลัง ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ ผ่าตัดอวัยวะส่วนอื่นใดที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าที่กล่าวมาข้างต้น |
24,000 บาท |
สมาชิกยื่นคำร้องพร้อมเอกสารแนบดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน , บัตรพนักงาน
- ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาล
- สำเนาใบเสร็จ
- สำเนาหน้าบัญชีธนาคารที่โอนเงิน
- IOC ถึงคณะกรรมการ
หมายเหตุ
- กรณีที่สมาชิกประสบอันตรายได้รับบาดเจ็บหลายส่วนของร่างกาย ให้ได้รับเงินสวัสดิการรายการสูงสุดเพียงรายการเดียว และมีสิทธิ์ได้รับเงินสวัสดิการสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท ตลอดอายุการเป็นสมาชิก
- สมาชิกมีสิทธิร้องขอให้สหกรณ์จ่ายเงินสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่ที่ประสบอันตราย
- กรณีที่สมาชิกประสบอันตรายได้รับบาดเจ็บจนถึงแก่ความตาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีสิทธิที่จะร้องขอให้สหกรณ์จ่ายเงินสวัสดิการช่วยเหลือเป็นค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย
และค่าปลงศพได้เต็มจำนวนเงินสวัสดิการ
- เงินสวัสดิการนี้จะไม่จ่ายในกรณีประสบภัยดังกล่าวเกิดขึ้นจากภัยสงคราม หรือการจลาจล หรือทะเลาะวิวาท หรือการเมาสุรา หรือยาเสพติด หรือการกระทำผิดกฏหมาย
ที่ผู้ประสบภัยเป็นผู้ก่อให้เกิดโดยเจตนา
ทุนส่งเสริมการศึกษา
เพื่อให้เป็นทุนการศึกษาแก่บุตรสมาชิก ทุนส่งเสริมการศึกษาสำหรับสมาชิกและครอบครัวสมาชิก คณะกรรมการดำเนินงาน ผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้ตรวจสอบภายใน
ทุนการศึกษาบุตรสมาชิก
1. ทุนเรียนดี
เป็นทุนที่มอบให้สำหรับบุตรสมาชิกผู้มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ ดีเยี่ยม แยกเป็น 4 ระดับ คือ ชั้นประถมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา ชั้นอาชีวะศึกษา และชั้นอุดมศึกษา จำนวนเงินและจำนวนทุน ของแต่ละระดับชั้นการศึกษา ให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการดำเนินการคุณสมบัติของผู้รับทุนการศึกษา
- เป็นบุตรสมาชิก
- มีความประพฤติเรียบร้อย
- กำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาของทางราชการหรือสถาบันการศึกษาของเอกชนที่ทางราชการรับรอง
- ระดับประถมศึกษา ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยตลอดทั้งปีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 (75%)
- ระดับมัธยมศึกษา ระดับอาชีวะศึกษา และระดับอุดมศึกษาต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยตลอดทั้งปีไม่ต่ำกว่า 2.75
2. ทุนช่วยเหลือการศึกษา
เป็นทุนที่มอบให้กับสมาชิกผู้มีรายได้น้อย ที่มีบุตรกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาของทางราชการหรือสถาบันการศึกษาของเอกชนที่ทางราชการรับรองคุณสมบัติของผู้รับทุนการศึกษา
- สมาชิกมีบุตรในวัยศึกษาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
- อัตราเงินเดือนของสมาชิก ณ วันที่ยื่นขอรับทุนให้เป็นไปตามประกาศของสหกรณ์ฯ
- กรณีคู่สมรสเป็นสมาชิกด้วยกันให้นำอัตราเงินเดือนมารวมกันแล้วนำมาเฉลี่ยต้องไม่เกินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ 2
- มีบุตรกำลังศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาของทางราชการหรือสถาบันการศึกษาของเอกชนที่ทางราชการรับรอง
หมายเหตุ
หลักเกณฑ์การพิจารณาหรือรายละเอียดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศของสหกรณ์ฯ
การส่งเสริมการศึกษา
- ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฯ พิจารณาอนุมัติตามความเหมาะสมให้กรรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการ ผู้ตรวจสอบภายใน เจ้าหน้าที่ และสมาชิก เข้าร่วมประชุมใหญ่และการประชุมสัมมนาวิชาการต่างๆ ซึ่งจัดโดยหน่วยงานราชการ หรือองค์กรสหกรณ์ฯ หรือสถาบันการศึกษา หรือเอกชน ที่มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษาอันเป็นประโยชน์ต่อกิจการสหกรณ์ฯ โดยสหกรณ์ฯ จะออกค่าลงทะเบียน เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ตามระเบียบสหกรณ์ฯ ที่กำหนดไว้
- ให้คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฯ พิจารณาจัดการสัมมนาวิชาการสหกรณ์ฯ เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในหลักการและอุดมการณ์ของสหกรณ์ฯ หรือจัดสัมมนาวิชาชีพเสริมหรือกิจกรรมอื่นๆ ที่เป็น ประโยชน์แก่สมาชิกและครอบครัวสมาชิก เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัว
ทุนสาธารณประโยชน์
ให้จ่ายเพื่อสาธารณประโยชน์ทั่วไปตามที่คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ฯ เห็นสมควรเกี่ยวกับสาธารณประโยชน์ทั่วไป
- เพื่อสาธารณทั่วไป ได้แก่ เป็นทุนในการก่อสร้างหรือซ่อมแซม หรือ ต่อเติมอาคารหรือสถานที่อันเป็นสาธารณทั่วไป เช่น ถนน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ การจัดสรรในหมู่สมาชิก
- เพื่อสาธารณกุศล ได้แก่ บำรุงศาสนา เป็นการสงเคราะห์ผู้ประสบภัยพิบัติต่างๆ เช่น อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัย เป็นต้น นอกจากนี้สหกรณ์ยังช่วยเหลือสมาชิกที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ ได้แก่
อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัยโดยมีหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับ
อัคคีภัย อุทกภัย และวาตภัยโดยมีหลักเกณฑ์ตามข้อบังคับ
- บ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่สมาชิกอาศัยอยู่จริงเสียหายทั้งหลังสหกรณ์จ่ายให้ 20% ของค่าเสียหายแต่ไม่เกิน 10,000.00 บาท
- บ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองที่สมาชิกอาศัยอยู่จริงเสียหายบางส่วนสหกรณ์จ่ายให้ 20% ของค่าเสียหายแต่ไม่เกิน 3,000.00 บาท และไม่น้อยกว่า 1,000.00 บาท
- สมาชิกที่พักอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันให้ได้รับเงินสงเคราะห์เพียงรายเดียว
- สหกรณ์จะพิจารณาให้ตามสัดส่วนของความเสียหายซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณา
หลักฐานประกอบการพิจารณาขอรับเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัยมีดังนี้
- หนังสือคำร้องขอรับเงินสงเคราะห์ให้ส่งถึงประธาน
- สำเนาบัตรประจำตัวพนักงาน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อสมาชิกอยู่
- ภาพถ่ายความเสียหายบ้านของสมาชิกที่ประสบภัย
- หนังสือรับรองการประสบภัยของส่วนราชการ
- บัญชีประเมินทรัพย์ที่เสียหาย
- เอกสารหรือหลักฐานที่แสดงกรรมสิทธิ์
สมาชิกจะต้องยื่นขอรับเงินสงเคราะห์ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ประสบภัยนั้น เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วเป็นอันหมดสิทธิในการขอรับเงินสงเคราะห์ เป็นการสงเคราะห์นักเรียนที่ยากจนหรือสงเคราะห์ทั่วไป
กองทุนช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเงินกู้สามัญ
เป็นกองทุนที่สมาชิกผู้กู้เงินกู้สามัญร่วมกันชำระเงินเข้ากองทุนไว้กับสหกรณ์ฯ เพื่อเป็นสวัสดิการช่วยเหลือสมาชิกที่เป็นผู้ค้ำประกันหนี้เงินกู้สามัญ ในกรณีที่ผู้กู้พ้นสภาพจากงานประจำ หรือพ้นสภาพจาก
การเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ และรวมถึงในกรณีที่ผู้กู้เสียชีวิต โดยผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้สามัญได้ครบถ้วนและต้องเรียกชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน โดยสหกรณ์ฯ จะนำรายได้ของกองทุนมาช่วยเหลือผู้ค้ำประกัน
- ที่มาของเงินกองทุน
- เงินสมทบอุดหนุนจากสหกรณ์
- เงินค่าธรรมเนียมในการขอกู้เงินกู้สามัญใหม่ ตามอัตราที่สหกรณ์กำหนด
- เงินที่ได้รับจากการติดตามทวงถามหนี้จากสมาชิกเท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายช่วยเหลือผู้ค้ำประกัน
- สหกรณ์จะเรียกเก็บและรักษาไว้ในบัญชี "กองทุนช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเงินกู้สามัญ" และให้สหกรณ์จัดเก็บเงินสมทบอุดหนุนเข้ากองทุนในอัตราเดียวกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สามัญ ตามจำนวนยอดเงินฝาก ออมทรัพย์ที่เป็นประกันเงินกู้สามัญที่มีสมาชิกเป็นผุ้ค้ำประกัน
- เมื่อสมาชิกผู้ใดพ้นสภาพงานประจำ หรือพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์ หรือเสียชีวิต สหกรณ์จะนำเงินค่าหุ้น เงินฝาก เงินได้อื่นใดอันสมาชิกพึงจะได้รับ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ หรือเงินรายได้อื่นๆ ไปหักลบกลบหนี้หรือชำระหนี้เงินกู้สามัญของสมาชิกแล้วแต่กรณี (ในกรณีที่เงินกองทุนช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเงินกู้ สามัญที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะจ่ายสหกรณ์จะเฉลี่ยให้ตามเงินกองทุนที่มีอยู่เท่านั้น) หนี้ที่เหลือค้างชำระอยู่เป็นจำนวนเท่าใด สหกรณ์จะโอนเงินสมทบอุดหนุนช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเงินกู้สามัญไปชำระหนี้ ร้อยละ 50 ของหนี้เงินกู้สามัญจำนวนที่เหลือนั้น แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หนี้เงินกู้สามัญส่วนที่เหลือให้ผู้ค้ำประกันชำระแทน
- เงินที่ได้รับจากการติดตามทวงถามหนี้จากสมาชิก จะโอนเข้าบัญชีเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเงินกู้สามัญ เท่ากับจำนวนเงินที่จ่ายช่วยเหลือผู้ค้ำประกัน
กองทุนสวัสดิการประกันชีวิตและอุบัติเหตุกลุ่ม
เพื่อเป็นสวัสดิการแก่สมาชิก คณะกรรมการดำเนินการทำการประกันชีวิตกลุ่มให้แก่สมาชิกซึ่งมีอายุ ต่ำกว่า 80 ปี และต้องมีชื่ออยู่ในกรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่มที่สหกรณ์ฯ จัดทำประกันชีวิตกลุ่มให้กับบริษัทสหประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) เพื่อนำเงินสินไหมทดแทนมาจ่ายเป็นสวัสดิการให้แก่สมาชิกที่เสียชีวิตโดยจำนวนเงิน ที่จ่ายให้แก่สมาชิกที่เสียชีวิตนั้น ให้จ่ายจากเงินค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนที่ได้รับจากบริษัท สหประกันชีวิต จำกัด(มหาชน) ตามกรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่มที่สหกรณ์จัดทำให้สมาชิกตามจำนวน ดังนี้
- กรณีสมาชิกเสียชีวิตโดยธรรมชาติ จำนวนเงิน 100,000 บาท
- กรณีสมาชิกเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ จำนวนเงิน 200,000 บาท
- กรณีสมาชิกที่เสียชีวิตมีหนี้กับสหกรณ์ สหกรณ์จะนำเงินสวัสดิการที่ได้รับไปชำระหนี้นั้นเสียก่อน หากมีเงินสวัสดิการเหลืออยู่ จึงจะจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ์รับเงิน หมายเหตุ สวัสดิการเพื่อสมาชิกอาวุโสที่มีอายุเกิน 80 ปี ที่มาของกองทุนสวัสดิการได้มาจากการจัดสรรกำไรสุทธิ และตั้งงบประมาณสนับสนุน ****** ผู้มีสิทธิได้รับเงินต้องมายื่นคำขอรับเงินสวัสดิการภายใน 180 วัน
ประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับจากสหกรณ์ฯ
1. เงินปันผล
เมื่อสิ้นปีบัญชีสหกรณ์ จะจ่ายเงินปันผลตามหุ้นให้แก่สมาชิกตามมติที่ประชุมใหญ่จัดสรรให้ ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราที่กำหนดในกฏกระทรวง (ไม่เกินร้อยละ 10 ต่อปี) ซึ่งสมาชิกจะได้รับเงินปันผล ตามหุ้นเต็มจำนวน โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
2. เงินเฉลี่ยคืน
สมาชิกที่กู้เงินจากสหกรณ์ เมื่อสิ้นปีบัญชีสหกรณ์ จะจ่ายเงินเฉลี่ยคืนให้ตามส่วนจำนวนรวมของดอกเบี้ยเงินกู้ที่ได้ส่งให้แก่สหกรณ์ใน ระหว่างปีตามมติที่ประชุมใหญ่จัดสรรให้ อัตราเงินเฉลี่ยคืนอาจลด หรือเพิ่มขึ้น ไม่จำเป็นต้องเท่ากันทุกปี ส่วนสมาชิกที่ผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ยมากกว่า 1 งวด ในปีใดจะไม่ได้รับเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีนั้น เว้นแต่การผิดนัดนั้นไม่ได้เกิดจากการกระทำของตนเอง
3. ดอกเบี้ยเงินฝาก
สมาชิกจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของธนาคารพาณิชย์โดยทั่วไปในประเภทเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ และเงินฝากประจำ
4. ดอกเบี้ยเงินกู้
สหกรณ์จะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราที่ต่ำกว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงินอื่น